เมืองต้องมนต์ขลัง นครอิสตัลบูล เมืองแห่ง 3จักรวรรดิ

นครอิสตัลบลู แม้ไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกี แต่ที่นี่ได้รับฉายาว่าแผ่นดินเชื่อม 2 ทวีปคือยุโรปและเอเชีย ที่นี่ไม่ใช่เพียงจะเป็นผู้ผสานหรือสะพานเชื่อม แต่ตุรกีกลับเป็นจุดศูนย์กลางถ่ายเทวัฒนธรรมของสองซีกโลกนั้นเอง สิ่งล้ำค่าที่เป็นสุดยอดของโลกในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้เนรมิตเป็นเมืองใหม่และยังคงยิ่งใหญ่ตระการตาแม้เวลาผ่านมา 1,500 ปี รวมถึงร่องรอยแห่งอารยธรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ เมืองนี้จึงที่มีประวัติศาส์น่าสนใจ
ก่อนที่ชาวเติร์กจะเรียกว่าอิสตัลบลู ที่นี่เคยเป็นเมืองหลวงที่สองแห่งโรมันเป็นต้นกำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่แยกตัวออกมาเป็นโรมันตะวันออก โดยเรียกชื่อเมืองเดิมว่านครคอนสแตนติโนเปิล ก่อนที่กองทัพจักรวรรดิออตโตมันอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกรจะเข้ายึดครองสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของอิสลามนิกชนซ้ำยังมีจักรวรรดิที่ทรงอำนาจยุคกลางที่มีราชธานีที่เดียวกัน ในสมัยนั้นเมืองนี้จึงเป็นเมืองที่ใครก็ต้องการ
หากคุณอยากเห็นความยิ่งใหญ่ของเมืองอิสตันบูลในยุคกลางที่สมบูรณ์แบบที่สุดต้องล่องเรือเที่ยวนครอิสตันบูลทางน้ำ ช่องแคบบอสฟอรัสเป็นช่องแคบที่เชื่อมเข้าด้วยกันระหว่างทะเลดำ และทะเลมาร์มะรา สองฟากฝั่งด้านหนึ่งจะเป็นทวีปยุโรปและอีกด้านหนึ่งจะเป็นทวีปเอเชีย อิสตันบูลตั้งอยู่ในจุดที่ดีคืออยู่บนเขาทั้ง7ลูกราวกับตั้งใจ เพราะผังเมืองคล้ายๆกับทำเลที่ตั้งของกรุงโรมนั่นเอง ชุมชนตลอดสองฟากฝั่งค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นมีโบส วิหาร พระราชวัง บ้านเรือนตั้งอยู่เรียงราย บางส่วนได้ถูกอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี บริเวณที่ตั้งของอิสตัลบูลอยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่าโกลเด้นท์ฮอล อ่าวที่มีรูปลักษณะคล้ายกับเขาสัตว์ เป็นจุดที่ดีเยี่ยมสำหรับการท่าเรือคุมเส้นทางการค้าหรือการสงครามเพราะอยู่ตรงช่องแคบบอสฟอรัสพอดี
ถ้าสังเกตุเราจะเห็นว่าชาวตุรกีจะคล้ายกับเอเชียมากกว่าแต่ทำไมหลายคนถึงคล้ายกับคนยุโรป นั้นเพราะภายหลังอณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันออก การแต่งงานระหว่างชาวเติร์กกับชาวยุโรปกลายเป็นเรื่องปกติตั้งแต่ชนชั้นสูงถึงสามัญชน
สิ่งก่อสร้างที่ควบตำแหน่งสิ่งมหัศจรรย์ของโลกไว้ 2 ยุคสมัยคงต้องนึกถึงสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของไบแซนไทน์ที่ชื่อว่าอายาโซเฟีย หรือวิหารเซนต์โซเฟีย นวัตกรรมการก่อสร้างที่ล้ำยุคนั้นเมื่อคริสต์ศักราช 537 ไม่มีใครเชื่อว่าจะทำได้ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง5 ปี10 เดือน 4 วัน ความล้ำยุคของการออกแบบคือเทคนิคการถ่ายเทน้ำหนักจากหลังคาลงสู่พื้นโดยใช้ผนังรับจึงไม่ต้องใช้เสาค้ำยันจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ใช้สอยจึงมีอาณาเขตที่โอ่งโถงกว้างใหญ่ทีสุดในโลก วัดจากจุดกึ่งกลางกว้าง74.67เมตร ยาว69.80 เมตร ตลอดเวลา916ปี ไม่มีใครสร้างอะไรได้ใหญ่เท่านี้แล้วในยุคไบแซนไทน์